วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปVDO

จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย


เทคนิคสอนวิทย์ให้สนุก ได้สาระ และสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ทำให้นักเรียนเกิดแรงบันดาลใจ และรักในวิชา วิทยาศาสตร์ ของ กับ อ.เฉลิมชัย วัดเข้าหลาม 

     ครูเฉลิมชัยเห็นว่า ช่วงปฐมวัยเป็นช่วงที่สนใจสิ่งต่างๆ อยากรู้อยากลองอยากเห็น มีความคิดสร้างสรรค์ หลักการสอนของครูเฉลิมคือ สอนให้สนุกไม่ไกลตัวเด็กเน้นการทดลองให้เด็กได้ลงมือกระทำเพราะเด็กจะจดจำไม่รู้ลืม
     ครูให้เด็กเรียนรู้เรื่องเสียงผ่านกิจกรรม โดยให้เด็กออกมาเสดงความสามารถพิเศษทางด้านดนตรีจากนั้นก็โชว์สื่อที่มีเสียงให้เด็กได้ตื่นตาตื่นใจ และสนใจในกิจกรรม คือ ไก่กระต๊าก ครูทำเสียงไก่อยู่ใต้โต๊ะเพื่อให้เด็กตื่นเต้นและค่อยๆให้เด็กเห็น และใช้คำถาม จากนั้นก็นำสื่อไก่กระต๊ากให้เด็กได้ลองเล่นทีละคน จนครบทุกคน ขณะเด็กเล่นครูก็ถามเด็กว่าเหมือนเสียงอะไร กิจกรรม อ่างดำเกิดเสียงก้อง เป็นการนำถุงดำมามัดใส่ในอ่างขนาดเล็กแล้วมัดให้เน้น จากนั้นนำเกลือมาโรยไว้ที่ปากอ่าน แล้วให้เด็กออกมาพูดใส่บริเวณปากอ่าง  ขณะที่พูดเสียงดังเกลือก็จะเคลื่อนที่ พอหยุดพูดก็จะมากองอยู่ที่กลางอ่าง แสดงว่าเสียงเกิดขึ้นจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ หรือ เสียงเกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียงและเคลื่อนที่จากแหล่งกำเนิดเสียงทุกทิศทุกทางโดยอาศัยตัวกลาง กิจกรรม กระป๋องร้องได้ โดยเจาะรูตรงกลางกระป๋อง ปากด้านหนึ่งของกระป๋องใส่ด้วยดินน้ำมัน อีกด้านหนึ่งตึงด้วยลูกโป่ง แล้วเป่าลมเข้าไปจะทำให้เกิดเสียง และขนาดของกระป๋องที่ต่างกันก็จะเกิดเสียงที่แตกต่างกัน    
      ครูเฉลิมบอกว่าการเป็นครูวิทยาศาสตร์นั้นต้องเป็นคนที่ทันยุคทันสมัยทันเหตุการณ์ รู้ทันเรื่องของโลก นำความรู่ใหม่ๆมาสอนศิษย์อยู่เสมอ ครูเป๋็นผู้ให้ความรู้ ให้เหตุและผล และเป็นคนเปิดโอกาสและให้โอกาสกับเด็กทุกคนได้แสดงความสามารถทางวิทยาศาสตร์และซักวันเด็กที่เราสอนจะเติบโตมาเป็นคนที่มีเหตุมีผลและเป็นกำลังที่ดีของประเทศชาติต่อไป































สรุปวิจัย

ชื่อวิจัย : การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
ชื่อผู้แต่ง : เอราวรรณ  ศรีจักร
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย
           เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยใช้เป็นแนวทางในการใช้แบบฝึกทักษะประกอบการเรียนการสอน  เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  และเป็นแนวทางสำหรับครูในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อที่เป็นแบบฝึกทักษะ  แก่เด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์
           1.เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
           2.เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ  เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

กลุ่มตัวอย่าง
          นักเรียนชาย - หญิง  อายุระหว่าง 4 - 5 ปี  ชั้นอนุบาล  2 โรงเรียนอนุบาลธนินทร  จำนวน 15 คน

นิยามศัพท์เฉพาะ
          ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 4 ด้าน คือ การสังเกต  การจำแนกประเภท  การสื่อสาร  และการลงความเห็น
          ชุดแบบฝึกทักษะ  ที่เน้นการใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้  จำนวน 4 เรื่อง คือ การสังเกต  พืช  สัตว์  และโลกของเรา

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
          1. ชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์  โดยใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้
          2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาตร์สาระตามชุดแบบฝึกทักษะ
          3. แบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์

การดำเนินงานวิจัย
          ดำเนินการเป็นเวลา 10 สัปดาห์  แบ่งเป็นการประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาตร์ 2 สัปดาห์  คือ  สัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 10  สัปดาห์ละ 4 วัน
          วันจันทร์  เรื่องการสังเกต
          วันอังคาร  เรื่องการจำแนกประเภท
          วันพุธ  เรื่องการสื่อสาร
          วันศุกร์  เรื่องการลงความเห็น
และสำหรับการทดลอง 8 สัปดาห์  แบ่งเป็นสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที  ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

หลักการจัดกิจกรรม
          1. กิจกรรมนี้จัดในชวงกิจกรรมเสริมประสบการณ
          2. การปฏิบัตกิิจกรรมดําเนินตามลําดับขนตอนดั้งนี้
                2.1 ขั้นนํา
                       เตรียมเด็กนักเรียนใหพรอมเรียนโดยจัดกิจกรรมตางๆ เชน การสนทนา เลานิทาน รองเพลง ปริศนาคําทาย เพื่อนําเขาสูบทเรียน ครูบอกจุดมุงหมายการเรียน
                2.2 ขั้นสอน แบงเปน 2 ตอน
                       ตอนที่ 1 ครูดาเนํ ินกิจกรรมการสอน โดยใชกระบวนการจัดกิจกรรมที่เนนการกระทําดวยความคิด การแสดงออก เรียนรูแบบรวมมือ เรียนรูดวยการคนพบ และทราบถึงความกาวหนาในการเรียนรูของตนเอง ซึ่งในการเรียนรูแตละเรองื่ เด็กจะไดเขารวมกิจกรรมการนําเสนอผลงาน การประเมินการเรียนรูรวมกับครูโดยครูเปนผูประเมินหรือตงคั้ ําถามใหเด็กประเมินตนเองและเพื่อน
                        ตอนที่ 2 ทําชดแบบฝกทักษะตามมโนทศนของเรื่องที่เรียน 
                 2.3 ขั้นสรุป
                        เด็กและครูร่วมกันสรุปมโนทัศนเรื่องที่เรียนหรือนําเสนอผลงานในแบบฝกทักษะวิทยาศาสตรดวยกิจกรรมอยางใดอยางหนึ่ง เชน ตอบคําถาม สาธิต หรือเสนอผลงาน

สรุปผลการวิจัย
          หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอยู่ในระดับดีมาก 3 ทักษะ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการสื่อสาร และทักษะการลงความเห็น  และอยู่ในระดับดี 1 ทักษะ คือ ทักษะการจำแนก


สรุปบทความ

บ้านฉันเป็นค่ายวิทยาศาสตร์
          เด็กมีสัญชาตญานอยากรู้อยากเห็น ชอบทดลอง และต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่รอยตัวอยู่ตลอดเวลา หากปล่อยช่วงวัยแห่งการเรียนรู้ที่ดีที่สุดตอนอายุ 3 ปีขึ้นไปให้หลุดลอย รอให้ถึงอนุบาลก็สายไปเสียแล้ว พ่อแม่จะต้องเป็นผู้นำวิทยาศาสตร์เข้าสู่บ้าน และสร้างเครื่องมือที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการที่ดีของเด็กๆ
          ถ้าจะทำให้เด็กประทับใจ ผู้ใหญ่จำเป็นต้องทำให้พวกเค้าตื่นตัวด้วยตนเอง เรียนรู้แบบธรรมชาติ และใช้ธรรมชาติรอบตัวเป็นกลวิทยาศาสตร์ กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น สังเกตและตั้งคำถามก่อนจะลงมือปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ พ่อแม่ต้องคุยกับลูก ถามความชอบเพื่อที่จะจัดกิจกรรมจากเรื่องที่เด็กสนใจจริงๆ และตัวพ่อแม่เองต้องพร้อมที่จะเล่นกับลูกได้เสมอ
          ผู้ใหญ่ต้องใส่เทคนิค เล่าเรื่องราวพร้อมกับใส่การทดลองประกอบอย่างง่าย เพื่อกระตุ้นให้เด็กคิดหาคำตอบให้ได้ ทดลองสัมผัสด้วยมือ เห็นผลลัพธ์ด้วยตา เพื่อให้เด็กสนุกสนาน ประทับใจและตื่นเต้นกับการทดลองที่เกิดขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Teaching 15th.

Teaching 15th.
Subject : Science experiences management for early childhood
Professor Jintana Suksamran
December 4,2014
Time 08.30-12.20pm.

(Knowledge)
     วันนี้อาจารย์สอนวิธีการทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์ผู้ปกครองโดยมีเนื้อหาข้อมูลในแผ่นพับดังนี้
     - หน้าปกจะประกอบไปด้วย ชื่อโรงเรียน ตราโรงเรียน ชื่อหน่วยที่จะเรียน ชื่อเด็กนักเรียน และชื่อคุณครูผู้สอน
     - เรื่องที่เราจะประชาสัมพันธ์บอกให้ผู้ปกครองของเด็กได้ทราบถึงความเป็นมา วัตถุประสงค์ ความสำคัญของหน่วยที่จะสอน
     - บรรยายสาระที่ควรเรียนรู้ในหน่วยนั้นๆ
     - เพลง คำคล้องจอง หรือนิทาน ที่เกี่ยวกับหน่วยที่จะสอน
     - เกมให้ผู้ปกครองและเด็กช่วยกันเล่น จะต้องสอดคล้องกับชื่อหน่วยและวิทยาศาสตร์ด้วย
     - ชื่อสมาชิกในกลุ่ม

Knowledge apply
     - สามารถนำวิธีการทำแผ่นพับไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองทราบ
 
Teaching methods
     - ใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นความคิดของนักศึกษา
   
Assessment after learning
     Myself80%
     Friends95%
     Professor95%

ภาพเคลื่อนไหวน่ารัก ๆ

Teaching 14th.

Teaching 14th.
Subject : Science experiences management for early childhood
Professor Jintana Suksamran
November 27,2014
Time 08.30-12.20pm.

(Research)

(Media sciences)

Knowledge apply
     - นำข้อมูลในวิจัยของเพื่อนไปปรับใช้เป็นแนวทางในการสอนได้
     - ย้อนดูโทรทัศน์ครูที่เพื่อนออกมานำเสนอแล้วใช้เป็นแนวทางในการสอนเด็กในเรื่องของวิทยาศาสตร์ได้
   
Teaching methods
     - ฝึกให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลด้วยตนเอง
     - ใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นความคิด
     - ใช้เทคโนโลยีต่างๆในการหาข้อมูลการศึกษาในชั้นเรียน
     - ให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับวิจัยและโทรทัศน์ครูที่เพื่อนออกไปนำเสนอ

Assessment after learning
     Myself 85%
     Friends 95%
     Professor 90%

Teaching 13th.

Teaching 13th.
Subject : Science experiences management for early childhood
Professor Jintana Suksamran
November 20,2014
Time 08.30-12.20pm.

(Research)


     *วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนเอาของเล่นวิทยาศาสตร์มาจัดแยกหมวดหมู่โดยจัดแยกได้โดยแผนผังดังนี้
The knowledge gained(Mind map)



Activity
(ทำขนมWaffle)


     Material
        1.แป้งวาฟเฟิล
        2.เนย
        3.ไข่
        4.น้ำเปล่า
        5.ถ้วย
        6.ช้อน
        7.เครื่องทำวาฟเฟิล
        8.เนยมาการีน
     How to
        1.นำแป้งวาฟเฟิล เนย ไข่ ใส่ลงไปในถ้วยผสมให้เข้ากัน
        2.ค่อยๆเติมน้ำลงไปเรื่อยๆ
        3.คนส่วนผสมทั้งหมดให้เป็นเนื้อเดียวกัน ไม่ให้เหลว หรือ ข้นจนเกินไป
        4.ทาเนยมาการีนตรงที่แม่พิมพ์วาฟเฟิล
        5.เทแป้งที่ผสมไว้ใส่ลงไป ทิ้งไว้สักครู่ แล้วตักใส่จาน

Knowledge apply
     - นำวิธีการทำวาฟเฟิลไปใช้ในการสอนเด็ก
     - นำวิธีการแบ่งกลุ่มของอาจารย์ใช้เป็นแนวทางในการแบ่งกลุ่มให้เด็กได้
     - นำข้อมูลในวิจัยของเพื่อนไปปรับใช้ในการสอนได้

Teaching methods
     - เรียนรู้โดยการลงมือกระทำด้วยตนเอง
     - ใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นความคิดของนักศึกษา
     - ได้ใช้ทักษะการสังเกตุ
     - เรียนรู้โดยผ่านการปฏิบัติจริง

Assessment after learning
     Myself 95%
     Friends 95%
     Professor 100%

ภาพเคลื่อนไหวน่ารัก ๆ

Teaching 12th.

Teaching 12th.
Subject : Science experiences management for early childhood
Professor Jintana Suksamran
November 6,2014
Time 08.30-12.20pm.

วันนี้ดิฉันไม่ได้เข้าเรียนเนื่องจากมีธุระต้องกลับบ้านที่ต่างจังหวัด จึงไม่สามารถมาเรียนได้