วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปVDO

จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย


เทคนิคสอนวิทย์ให้สนุก ได้สาระ และสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ทำให้นักเรียนเกิดแรงบันดาลใจ และรักในวิชา วิทยาศาสตร์ ของ กับ อ.เฉลิมชัย วัดเข้าหลาม 

     ครูเฉลิมชัยเห็นว่า ช่วงปฐมวัยเป็นช่วงที่สนใจสิ่งต่างๆ อยากรู้อยากลองอยากเห็น มีความคิดสร้างสรรค์ หลักการสอนของครูเฉลิมคือ สอนให้สนุกไม่ไกลตัวเด็กเน้นการทดลองให้เด็กได้ลงมือกระทำเพราะเด็กจะจดจำไม่รู้ลืม
     ครูให้เด็กเรียนรู้เรื่องเสียงผ่านกิจกรรม โดยให้เด็กออกมาเสดงความสามารถพิเศษทางด้านดนตรีจากนั้นก็โชว์สื่อที่มีเสียงให้เด็กได้ตื่นตาตื่นใจ และสนใจในกิจกรรม คือ ไก่กระต๊าก ครูทำเสียงไก่อยู่ใต้โต๊ะเพื่อให้เด็กตื่นเต้นและค่อยๆให้เด็กเห็น และใช้คำถาม จากนั้นก็นำสื่อไก่กระต๊ากให้เด็กได้ลองเล่นทีละคน จนครบทุกคน ขณะเด็กเล่นครูก็ถามเด็กว่าเหมือนเสียงอะไร กิจกรรม อ่างดำเกิดเสียงก้อง เป็นการนำถุงดำมามัดใส่ในอ่างขนาดเล็กแล้วมัดให้เน้น จากนั้นนำเกลือมาโรยไว้ที่ปากอ่าน แล้วให้เด็กออกมาพูดใส่บริเวณปากอ่าง  ขณะที่พูดเสียงดังเกลือก็จะเคลื่อนที่ พอหยุดพูดก็จะมากองอยู่ที่กลางอ่าง แสดงว่าเสียงเกิดขึ้นจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ หรือ เสียงเกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียงและเคลื่อนที่จากแหล่งกำเนิดเสียงทุกทิศทุกทางโดยอาศัยตัวกลาง กิจกรรม กระป๋องร้องได้ โดยเจาะรูตรงกลางกระป๋อง ปากด้านหนึ่งของกระป๋องใส่ด้วยดินน้ำมัน อีกด้านหนึ่งตึงด้วยลูกโป่ง แล้วเป่าลมเข้าไปจะทำให้เกิดเสียง และขนาดของกระป๋องที่ต่างกันก็จะเกิดเสียงที่แตกต่างกัน    
      ครูเฉลิมบอกว่าการเป็นครูวิทยาศาสตร์นั้นต้องเป็นคนที่ทันยุคทันสมัยทันเหตุการณ์ รู้ทันเรื่องของโลก นำความรู่ใหม่ๆมาสอนศิษย์อยู่เสมอ ครูเป๋็นผู้ให้ความรู้ ให้เหตุและผล และเป็นคนเปิดโอกาสและให้โอกาสกับเด็กทุกคนได้แสดงความสามารถทางวิทยาศาสตร์และซักวันเด็กที่เราสอนจะเติบโตมาเป็นคนที่มีเหตุมีผลและเป็นกำลังที่ดีของประเทศชาติต่อไป































สรุปวิจัย

ชื่อวิจัย : การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
ชื่อผู้แต่ง : เอราวรรณ  ศรีจักร
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย
           เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยใช้เป็นแนวทางในการใช้แบบฝึกทักษะประกอบการเรียนการสอน  เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  และเป็นแนวทางสำหรับครูในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อที่เป็นแบบฝึกทักษะ  แก่เด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์
           1.เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
           2.เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ  เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

กลุ่มตัวอย่าง
          นักเรียนชาย - หญิง  อายุระหว่าง 4 - 5 ปี  ชั้นอนุบาล  2 โรงเรียนอนุบาลธนินทร  จำนวน 15 คน

นิยามศัพท์เฉพาะ
          ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 4 ด้าน คือ การสังเกต  การจำแนกประเภท  การสื่อสาร  และการลงความเห็น
          ชุดแบบฝึกทักษะ  ที่เน้นการใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้  จำนวน 4 เรื่อง คือ การสังเกต  พืช  สัตว์  และโลกของเรา

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
          1. ชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์  โดยใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้
          2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาตร์สาระตามชุดแบบฝึกทักษะ
          3. แบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์

การดำเนินงานวิจัย
          ดำเนินการเป็นเวลา 10 สัปดาห์  แบ่งเป็นการประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาตร์ 2 สัปดาห์  คือ  สัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 10  สัปดาห์ละ 4 วัน
          วันจันทร์  เรื่องการสังเกต
          วันอังคาร  เรื่องการจำแนกประเภท
          วันพุธ  เรื่องการสื่อสาร
          วันศุกร์  เรื่องการลงความเห็น
และสำหรับการทดลอง 8 สัปดาห์  แบ่งเป็นสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที  ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

หลักการจัดกิจกรรม
          1. กิจกรรมนี้จัดในชวงกิจกรรมเสริมประสบการณ
          2. การปฏิบัตกิิจกรรมดําเนินตามลําดับขนตอนดั้งนี้
                2.1 ขั้นนํา
                       เตรียมเด็กนักเรียนใหพรอมเรียนโดยจัดกิจกรรมตางๆ เชน การสนทนา เลานิทาน รองเพลง ปริศนาคําทาย เพื่อนําเขาสูบทเรียน ครูบอกจุดมุงหมายการเรียน
                2.2 ขั้นสอน แบงเปน 2 ตอน
                       ตอนที่ 1 ครูดาเนํ ินกิจกรรมการสอน โดยใชกระบวนการจัดกิจกรรมที่เนนการกระทําดวยความคิด การแสดงออก เรียนรูแบบรวมมือ เรียนรูดวยการคนพบ และทราบถึงความกาวหนาในการเรียนรูของตนเอง ซึ่งในการเรียนรูแตละเรองื่ เด็กจะไดเขารวมกิจกรรมการนําเสนอผลงาน การประเมินการเรียนรูรวมกับครูโดยครูเปนผูประเมินหรือตงคั้ ําถามใหเด็กประเมินตนเองและเพื่อน
                        ตอนที่ 2 ทําชดแบบฝกทักษะตามมโนทศนของเรื่องที่เรียน 
                 2.3 ขั้นสรุป
                        เด็กและครูร่วมกันสรุปมโนทัศนเรื่องที่เรียนหรือนําเสนอผลงานในแบบฝกทักษะวิทยาศาสตรดวยกิจกรรมอยางใดอยางหนึ่ง เชน ตอบคําถาม สาธิต หรือเสนอผลงาน

สรุปผลการวิจัย
          หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอยู่ในระดับดีมาก 3 ทักษะ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการสื่อสาร และทักษะการลงความเห็น  และอยู่ในระดับดี 1 ทักษะ คือ ทักษะการจำแนก


สรุปบทความ

บ้านฉันเป็นค่ายวิทยาศาสตร์
          เด็กมีสัญชาตญานอยากรู้อยากเห็น ชอบทดลอง และต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่รอยตัวอยู่ตลอดเวลา หากปล่อยช่วงวัยแห่งการเรียนรู้ที่ดีที่สุดตอนอายุ 3 ปีขึ้นไปให้หลุดลอย รอให้ถึงอนุบาลก็สายไปเสียแล้ว พ่อแม่จะต้องเป็นผู้นำวิทยาศาสตร์เข้าสู่บ้าน และสร้างเครื่องมือที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการที่ดีของเด็กๆ
          ถ้าจะทำให้เด็กประทับใจ ผู้ใหญ่จำเป็นต้องทำให้พวกเค้าตื่นตัวด้วยตนเอง เรียนรู้แบบธรรมชาติ และใช้ธรรมชาติรอบตัวเป็นกลวิทยาศาสตร์ กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น สังเกตและตั้งคำถามก่อนจะลงมือปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ พ่อแม่ต้องคุยกับลูก ถามความชอบเพื่อที่จะจัดกิจกรรมจากเรื่องที่เด็กสนใจจริงๆ และตัวพ่อแม่เองต้องพร้อมที่จะเล่นกับลูกได้เสมอ
          ผู้ใหญ่ต้องใส่เทคนิค เล่าเรื่องราวพร้อมกับใส่การทดลองประกอบอย่างง่าย เพื่อกระตุ้นให้เด็กคิดหาคำตอบให้ได้ ทดลองสัมผัสด้วยมือ เห็นผลลัพธ์ด้วยตา เพื่อให้เด็กสนุกสนาน ประทับใจและตื่นเต้นกับการทดลองที่เกิดขึ้น